วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2562

การปรับฮวงจุ้ย ด้วยการสวดคาถา"มหาจักรพรรดิ"




วิชาฮวงจุ้ยเกิดจากประสบการณ์ในการสังเกตธรรมชาติแวดล้อมทั้งที่มองเห็นได้และ มองไม่เห็นว่าถ้ามีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งปรากฏขึ้นแล้วจะมีผลเกิดขึ้นกับชีวิต มนุษย์อย่างไร นักปราชญ์หลายชั่วอายุคนได้บันทึกหรือจดจำว่า ถ้ามีเหตุตามรูปแบบที่เกิดซ้ำๆแล้วมันจะเกิดผลดีหรือผลร้าย




 
จากประสพการดังกล่าวสรุปเป็นแนวคิดของสำนักฮวงจุ้ยต่างๆ เช่น สำนักรูปลักษณ์ สำนักเข็มทิศ หรือสำนักดาวเหิร   แม้แต่ละสำนักคิดจะมีรูปแบบภายนอกที่ดูแตกต่าง หากเราพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าแต่ละสำนักคิดนั้นเป็นการจัดการกับพลังงาน ที่อยู่แวดล้อมร่างกายมนุษย์ ในรูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด เพื่อให้มนุษย์อยู่ดีมีสุข ถ้าผู้อ่านบทความนี้รู้สึกว่าบ้านที่อยู่อาศัย หรือที่ทำงาน อยู่แล้วไม่มีความสุขเพราะฮวงจุ้ยไม่ดีแต่ไม่รู้ที่จะหาอาจารย์ฮวงจุ้ยที่ เก่งๆจากไหน หรือรู้แต่ไม่มีเงินพอที่จะไปจ้างมาได้ แต่อยากจะปรับฮวงจุ้ยให้เหมาะสมกับ ตัวเรา ก็สามารถจัดการกับพลังงานในสถานที่นั้นๆด้วย


การสร้างพลังงานที่ดีเพื่อ บรรเทาหรือลบล้างพลังงานที่ไม่ดี โดยอาศัยหลักการของพระพุทธศาสนา คือ


1. การบริจาคทาน เป็นการลดความเห็นแก่ตัว เช่นทำบุญตักบาตร  บริจาคทรัพย์ให้แก่ผู้ที่ขาดแคลนและสมควรได้รับการช่วยเหลือ ก็จะทำให้จิต ใจของเราบรรเทาความเร่าร้อนและเกิดมีความสุข

 

2. รักษาศีลขั้นต่ำคือศีลห้า เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างกรรมที่ไม่ดี แล้วปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่มีมากมาย เช่น สัปปุริสธรรม 7 ( คุณสมบัติของคนดี ) อันได้แก่

  2.1 ธัมมัญญุตา ความรู้จักธรรม รู้ว่าถ้าต้องการให้เกิดผลที่ต้องการ จะต้องกระทำการตามเหตุหรือหลักการอย่างไร

      2.2 อัตถัญญุตา รู้จักผลที่จะเกิดขึ้น รู้ว่าการที่ตนกระทำนั้นมีวัตถุประสงค์อะไร เมื่อทำลงไปแล้วจะเกิดผลอย่างไร

      2.3  อัตตัญญุตา ความรู้จักตน รู้ว่าตนเองมีฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรมอย่างไร แล้วประพฤติตนให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเองต่อไป

      2.4 มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ คือความพอดี ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องรู้จักใช้จ่ายทรัพย์สินเงินทองตามความเหมาะสมแก่ฐานะของตนเอง

     2.5 กาลัญญุตา ความรู้จักกาล รู้กาลเวลาอันเหมาะสม ระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำงาน เช่น การตรงต่อเวลา แบ่งเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสม

     2.6 ปริสัญญุตา ความรู้จักชุมชนและรู้จักที่ประชุม คือรู้จักการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับ กลุ่มทางสังคม พูดจาหรือกระทำการให้ถูกกาลเทศะ

     2.7 ปุคคลัญญุตา ความรู้จักบุคคล คือ รู้ว่ามนุษย์แต่ละคน มีนิสัยใจคอ ความรู้ความสามารถ คุณธรรม อย่างไร แล้วรู้จักว่าตนเองสมควรต้องปฏิบัติต่อบุคคลนั้นอย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสม รู้ว่าบุคคลนั้นควรคบหาหรือไม่ จะใช้วิธีการใดที่เหมาะสมในการตำหนิ ยกย่อง หรือแนะนำสั่งสอนอย่างไร   

 

3. ปฏิบัติภาวนา คือทำใจให้สงบโดยอาศัยคำภาวนาอะไรก็ได้ เพื่อให้จิตสงบเยือกเย็น มีกำลังใจที่จะจะต่อสู้อุปสรรคเบื้องหน้า

    การสวดมนต์บทคาถามหาจักรพรรดิก็เป็นคำภาวนาแบบหนึ่ง แต่หลวงปู่ดู่ ( พรหมปํญโญ ) ผู้เรียบเรียงได้อธิษฐานจิตให้คาถานี้สามารถเป็นสื่อในการชักนำพลัง จักรพรรดิที่ไม่มีวันหมดมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตัวผู้สวดพระคาถานี้ในทาง ที่ไม่ผิดศีลธรรม วิธีนี้เป็นการใช้บุญฤทธิหรือจิตของเราที่เลื่อมใสในคุณ แห่งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ชักนำพลังจิตของพระ พุทธเจ้า พลังแห่งพระธรรมและพลังจิตแห่งพระอริยะสงฆ์   อีกทั้งพลังแห่งพระมหาจักรพรรดิ พระโพธิสัตว์ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในโลกนี้และจักรวาลต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานที่ดีให้เข้ามาลดทอนความร้ายแรงของพลังงานที่ไม่ดีในสถานที่ ที่ต้องการ การที่จะได้ผลมากได้น้อยก็ขึ้นกับความเพียรในการสวดและพลังจิต หรือจินตนาการของผู้สวด  หลักของการใช้ฤทธิหรือพลังจิตก็คือต้องมีศรัทธาเชื่อว่าสิ่งที่ต้องการนั้นมันเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ไม่ ใช่ว่าจะเกิด ดังนั้น    ก่อนที่จะเริ่มสวดคาถามหาจักรพรรดิต้องมีความคิดหรือภาพในใจที่ชัดเจนแจ่ม ชัดว่า   การที่เราจะสวดมนต์ครั้งนี้เราต้องการที่จะชักนำพลังงานฝ่ายดีมาทำให้เกิดผล อย่างไร เมื่อมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว ทุกขณะที่เอ่ยคำสวดเราต้องจินตนาการไปตามบทสวดว่า มีภาพต่างๆเกิดขึ้นในตามคำสวดที่เกิดขึ้นให้ทันกับปัจจุบัน มีคนกล่าวไว้ว่า “ ถ้าเราเข้าใจในสิ่งที่ทำ จะนำมาซึ่งทักษะที่สุดยอด ” ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจถึงที่มาและความหมายของคาถามหาจักรพรรดิเราก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากคาถานี้ได้อย่างเต็มที่

                                           



     คาถามหาจักรพรรดิ

มีที่มาจาก ” ชมพูปติสูตร ” ซึ่งเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพื่อกำราบ ทิฐิมานะของพญาชมพู พระมหากษัตริย์ผู้มากด้วยอิทธิฤทธิ์ 

ผู้ที่เรียบเรียงหรือแต่งคาถานี้คือ พระพรหมปัญโญ หรือหลวงปู่ดู่แห่งวัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีที่มาจากหลวงพ่อสำเภาซึ่งศิษย์ของหลวงปู่ได้สร้างพระพุทธรูปและได้แต่ง คาถาบูชาพระพุทธรูป แต่มีบางแห่งที่ไม่ถูกต้องหลวงปู่ดู่จึงได้ปรับแก้ให้ เหมาะสม คาถานี้เป็นการสวดเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ตลอดจนทั้งพระนิพพาน รวมถึงพระธรรมเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันตาขีณาสพเจ้า พระอริยะสงฆ์ และพระสาวกทั้งมวล เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัป ( กัปปัจจุบันนี้ ) อีกทั้งยังเป็นการอัญเชิญกำลังแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ กำลังแห่งพระโพธิญาณของพระโพธิสัตว์เจ้าทุกๆพระองค์ นับตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต น้อมนำกำลังของพระอริยะเจ้าทั้งหลายและเทพพรหม อาราธนาบารมีแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ เทพ พรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าสู่ตัวของผู้สวดคาถามหาจักรพรรดิ เพื่อคุ้มครองป้องกันภัยและเสริมโชคลาภให้แก่ผู้สวด และ เนื่องจากในบทสวดมีการระลึกถึงพระสีวลีผู้เป็นพระอสีติมหาสาวกที่มีเอตทัคคะ ในทางเป็นผู้มีลาภมากรวมอยู่ด้วย การสวดครั้งหนึ่งมีอานิสงส์แผ่ไปทั่วจักรวาลตลอดจนสามแดนโลกธาตุ ( เทพ พรหม มนุษย์ภูมิ อบายภูมิ ) สามารถแผ่ส่วนบุญปรับภพภูมิแก่สรรพสัตว์ ตลอดจนเทวดาประจำตัว ญาติมิตร ครอบครัว เจ้ากรรมนายเวร การสวดบทพระคาถามหาจักรพรรดินี้ยังเป็นการสร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัวแก่ผู้สวดอีกด้วย คาถานี้มีพลังงานมากมายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกหลาย ๆ วิธี   โดยบทสวดพระมหาจักรพรรดิมีดังนี้

 คาถามหาจักรพรรดิ

“ นะโมพุทธายะ , พระพุทธะไตรรัตนญาณ , มณีนพรัตน์ ,

สีสะหัสสะ สุธรรมา ,  พุทโธ ธัมโม สังโฆ ,

ยะธาพุทธโมนะ , พุทธบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา ,

อัคคีทานัง วะรังคันธัง , สีวลี จะมหาเถรัง ,

อะหังวันทามิ ทูระโต ,

อะหังวันทามิ สัพพะโส ,

พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ ”

สำหรับการสวดจะเปล่งเสียงตามจังหวะของเครื่องหมายจุลภาคที่คั่นไว้ ส่วนคำแปลและความหมายของคาถามีดังนี้

1. นะโมพุทธายะ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาต่อพระพุทธเจ้าในภัทรกัปทั้งห้าพระองค์คือ



          1.1 นะ คือ พระกกุสันธะ เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกของกัปนี้ พลังสีขาว เวลา สวดถึงคำนี้ถึงพระพุทธรูปสีขาว

          1.2 โม คือ พระโกนาคม เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สองของกัปนี้ พลังสีเหลือง เวลาสวดถึงคำนี้ให้นึกถึงพระพุทธรูปสีเหลือง

          1.3 พุท คือ พระกัสสป เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สามของกัปนี้ พลังสีฟ้า เวลาสวดถึงคำนี้ให้นึกถึงพระพุทธรูปสีฟ้า

          1.4 ธา คือ พระสมณโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พลังสีเขียว เวลาสวดถึงคำนี้ให้นึกถึงพระพุทธรูป

            สีเขียว

          1.5 ยะ คือ พระศรีอริยะเมตไตรย เป็นพระพุทธเจ้าองค์ถัดจากองค์ปัจจุบัน เวลาสวดถึงคำนี้ให้นึกถึงพระพุทธรูปสีแดง


 

                   2. พระพุทธไตรรัตนญาณ พระพุทธเจ้าซึ่งมีพระญาณแก้วทั้งสาม คือ                 

              2.1 บุพเพนิวาสานุสติญาณ (ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน หรือ ระลึกชาติได้)

                2.2 จุตูปปาตญาณ (ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย  หรือ มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง ตามกรรมของตน)

                     2.3 อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความตรัสรู้



3. 
มณีนพรัตน์   





          3.1
มีสมบัติคือแก้วเก้าประการ อันได้แก่ เพชรทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดาหาร เพทาย ไพฑูรย์

          3.2 มีสมบัติของจักรพรรดิเจ็ดประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว มณี รัตนะ ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว

        3.3 พระนวโลกุตรธรรม ( ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก 9 ประการ หรือ สภาวะพ้นโลก )  อันได้แก่ มรรค 4 ( ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล หรือ ญาณที่ทำละสังโยคได้ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค ) 


                    4 (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสด้วยมรรค คือ  โสดาปัตติผล สกทาคามิผล   อนาคามิผล และอรหัตตผล ) นิพพาน 1 ( สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้วเป็น อิสรภาพสมบูรณ์ )

 

5. พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

 

6. ธัมโม ธรรมของพระพุทธเจ้า

 

7. สังโฆ พระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

 

8. ยะธาพุทโมนะ ขอพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีชัยชนะแก่พญาชมพูผู้มีฤทธิ์มาก พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ จงบังเกิดขึ้น ณ บัดนี้ด้วยเทอญ ( การสวดคำว่า “ นะโมพุทธายะ ” แล้วปิดท้ายด้วย “ ยะธาพุทธโมนะ ” เป็นการอธิษฐานตั้งองค์พระหรือการอธิษฐานให้เป็นพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิ )

9. พุทธะบูชา ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า

10.ธรรมบูชา ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม

11.สังฆะบูชา ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์

12.อัคคีทานัง วะรังคันธัง ด้วยสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ธูป เทียน ไฟ หรือแสงสว่าง และ ของหอมทั้งมวล มีดอกไม้และน้ำอบเป็นต้น

 13.สีวะลี จะมหาเถรัง ขอนมัสการพระสีวลีเถระเจ้า ผู้เป็นเลิศทางลาภสักการะ

14.อะหังหังวันทามิ ทูระโต ขอนมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป มีสังเวชนีสถานเป็นต้น

15.อะหังวันทามิ ธาตุโย ขอนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลายทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล

16.อะหังวันทามิ สัพพะโส ขอนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

17.พุทธะ ธรรมะ สังฆะ ปูเชมิ ซึ่งเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

        พระคาถามหาจักรพรรดิที่หลวงปู่ดู่แต่งขึ้นมานั้น นอกจากท่านได้ทำการอธิษฐานบารมีให้ผู้สวดได้รับพลังจากพระรัตนตรัย อย่างมหาศาลแล้ว ยังก่อให้เกิด “ พุทธนิมิต ( ภูตพระพุทธเจ้า หรือพลังงานของพระพุทธเจ้าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในโลก ) ” เป็นวิมานแก้วของพระพุทธเจ้ามาครอบสถิตรอบกายทิพย์ของผู้สวดด้วย โดยมีลักษณะเป็นมณฑปแก้วจัตุรมุข ( บุษบก ) ปรากฏฉัพพรรรณสีหก ประการ ( วรรณะรังสี หรือ ออร่าที่เปล่งมาจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวนหกสี คือ สีขาว สีเหลือง สีแดง สีเขียว สีชมพู และสีประภัสสรเลื่อมพราย ) สว่างไสวพร้อมด้วยโพธิสัตว์ศาสตราวุธทั้งสี่ประการ คือ 1.พระมหามงกุฎ 2.ตรีศูล 3.จักรแก้ว 4.พระขรรค์เพชร หากสวคาถามหาจักรพรรดิเป็นประจำสามารถอธิษฐานให้เกิดเป็นองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิซึ่ง เปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์ มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก โดยองค์พระพุทธนิมิตจะประดับด้วยเครื่องทรง แห่งองค์พระมหาจักรพรรดิอย่างวิจิตรอลังการ เปล่งรัศมีหลากสีด้วยแสงแห่งรัตนะเรียกว่า “ พระมหาวิษิตาภรณ์ ” มาครอบสถิตผู้ภาวนา

 การสวดคาถามหาจักรพรรดินั้น ตามธรรมเนียมการเรียนเวทมนต์คาถาแต่โบราณ ต้องมีการฝากตัวเป็นศิษย์เสียก่อน เนื่องบรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่ดู่เชื่อว่า  ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นภาคย่อยของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าศรีอริยะเมตไตรย มีการบอกกันเป็นการภายในว่า การขอความช่วยเหลือจากบรรดาพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้าที่เข้านิพพานไปแล้วขอ ได้ยากมาก เพราะมีเพียงกระแสพลังที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ถ้าต้องการขอความช่วยเหลือต้อง ขอจากพระโพธิสัตว์หรือเทวดาที่ยังไม่เข้านิพพาน เพราะจิตของท่านยังรับรู้คำขอได้ ส่วนจะให้หรือไม่ก็แล้วแต่ท่านจะไปบังคับกะเกณฑ์เอาไม่ได้ ถ้าท่านพิจารณาแล้วว่าสมควรท่านก็ให้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังขอความช่วยเหลือ ได้ง่ายกว่าพระอรหันต์ที่เข้านิพพานแล้ว   เนื่องจากในปัจจุบันหลวงปู่ดู่ได้มรณภาพไปแล้ว เหลือแต่เพียงดวงจิตที่ยังคงมีพลังงานการรับรู้ได้ การฝากตัวเป็นลูกศิษย์จึงเรียกว่า “ การฝากดวงไว้กับหลวงปู่ดู่ ”  โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

       “ ข้าพเจ้า ( ชื่อ ..................... นามสกุล ................. ) ขอยกให้หลวงปูดู่พรหมปัญโญ เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ ลูกขอฝากชีวิต ฝากดวงไว้กับหลวงปู่ ให้หลวงปู่เมตตาดูแลไปจนกว่าจะถึงพระนิพพานในอนาคตการ เทอญ ) ”

        เมื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์แล้ว ก็ถึงวิธีการสวดคาถามหาจักรพรรดิเพื่อปรับภพภูมิ หรือปรับฮวงจุ้ย การอธิษฐานที่ถูกต้องนั้น คือ ขอบารมีของหลวงปู่ดู่ให้เมตตาชักนำพลังงานจักรพรรดิ ( ไม่ใช่การขอบารมีของหลวงปู่ดู่โดยตรง ) ที่สะสมมานับชาติไม่ถ้วนของพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิในแสนโกฏิจักวาลนับ ตั้งแต่องค์ปฐมจนถึงองค์ปัจจุบัน และอนาคตกาล หลักการก็คือให้นึกภาพหลวงปู่ดู่หรือภาพพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานต้นทาง ( กำลังจักรพรรดิ ) แล้วน้อมนึกอธิษฐานขอบารมีรวมของท่านให้เป็นพลังงานแผ่ผ่านมาที่ตัวของเรา จากนั้นส่งต่อไปยังเป้าหมายที่ต้องการ พลังงานจักรพรรดิมีอยู่อย่างมากมายไม่มีวันหมด แต่การอธิษฐานนำมาใช้ประโยชน์ต้องเป็นสิ่งที่ชอบที่ควร ไม่ขัดต่อศีลธรรม

        เพื่อให้การขอบารมีของหลวงปู่ดู่ให้เมตตาชักนำพลังงานจักรพรรดิมาปรับฮวงจุ้ย หรือศิษย์สายหลวงปู่ดู่จะเรียกว่าการปรับภพภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีวัตถุมงคลของหลวงปู่ดู่มาเป็นสื่อกลางในการชักนำพลังงาน (ถ้า ไม่ไปเลือกวัตถุมงคลรุ่นยอดนิยม เช่น เหรียญยันต์ดวง หรือวัตถุมงคลในยุคต้นๆที่หลวงปู่ได้อธิฐานจิต ในปัจจุบันยังพอหาได้ในราคา ไม่แพง เพราะหลวงปู่เมตตาอธิษฐานจิตไว้เยอะมากๆ มีหลากหลายรูปเพื่อให้บรรดาลูกศิษย์ได้มีไว้ในครอบครองอย่างทั่วถึง โดยหลวงปู่บอกว่าท่านอธิษฐานเต็มที่ทุกรุ่น ดังนั้นจึงดีทุกรุ่น )

       

ขั้นตอนการสวดคาถามหาจักรพรรดิเพื่อปรับฮวงจุ้ย


1.
สวดบูชาพระรัตนตรัย ( นะโมตัสสะ 3 ครั้ง ) “ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ”

2. สวดบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ดังนี้
พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิ ( ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิต )

   ธัมมัง ชีวิตัง เมปูเชมิ  ( ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรมเจ้า ด้วยชีวิต )

   สังฆัง ชีวิตัง เมปูเชมิ  ( ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์เจ้า ด้วยชีวิต ) ”

3. กราบพระ 6 ครั้ง ดังนี้

 “ พุทธัง วันทามิ

   ธัมมัง วันทามิ

   สังฆัง วันทามิ

   อุปัชฌาอาจาริยคุณัง วันทามิ ( สำหรับผู้ชายสวด )

   คุณครูบาอาจารย์ วันทามิ ( สำหรับผู้หญิงสวด )

   มาตาปิตุคุณัง วันทามิ

   พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ ”

4. สมาทานศีล 5

          4.1 “นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( 3 ครั้ง )

          4.2  พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

                 ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

                 สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

                 ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

                 ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

                 ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

                 ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

                 ตติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

                 ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ”

          4.3  ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ

                 อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ

                 กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ

                 มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ

                 สุราเมระยะมัชชะ ปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ

          4.4 อิมานิ ปัญจะ สิกขา ปะทานิ สมาธิยามิ ( 3 ครั้ง )

                สีเลนะ สุคะติงยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา

                สีเลนะ นิพพุตติงยันติ ตัสสะมา สีลัง วิโส ธะเย  ”

5. ผู้สวดคาถามหาจักรพรรดิเพื่อปรับฮวงจุ้ยนั่งอยู่หน้าพระบูชาของหลวงปู่ดู่ หรือกำลูกแก้วมหาจักรพรรดิ ( ลูกแก้วมณีนพรัตน์ )หรือพระเครื่อง หรือเครื่องรางอย่างอื่นของหลวงปู่ดู่ไว้ในมือ ( ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ) ถ้าเป็นรูปพระพุทธให้หันรูปเข้าหาตัวผู้สวดและให้เศียรของพระขึ้นข้างบน ทำจิตใจให้ตั้งมั่นและผ่องใส ก่อนที่จะเริ่มลงมือสวดให้นึกภาพในใจอย่าง ชัดเจนว่า เรากำลังขอความเมตตาจากหลวงปู่ดู่ให้ชักนำบารมีรวมของพระมหาจักรพรรดิ( พลังงานจักรพรรดิ ) บารมีรวมของพระโพธิสัตว์ ผ่านบารมีรวมของพระศรีอริยะเมตไตรย ผ่านบารมีรวมของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ผ่านบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ ครอบเป็นวิมานแก้ว ( บุษบก )ที่ตัวของผู้สวด จากนั้นชักนำพลังงานจักรพรรดิที่สถิตที่ร่างกายผู้สวด ไปครอบเป็นวิมานที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานที่ที่ต้องการปรับภพภูมิ ( ฮวงจุ้ย )

 

แล้วกล่าวคำอธิษฐานดังนี้

 “ ลูกขออาราธนาพระบารมีแห่งองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดทั้งมวล ตั้งแต่องค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ จนถึงองค์บรมมหาจักรพรรดิปัจจุบันทุกๆพระองค์ พระบารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรม และอริยสงฆ์ทุกชั้นภูมิ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยบารมีรวมของหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ดู่เป็นที่สุด 

                   ขอหลวงปู่ดู่ได้มีพระเมตตา
                 5.1 
ถ้ากำลูกแก้ว มณีนพรัตน์ ก็กล่าวว่า “ ขอให้ลูกแก้วมณีนพรัตน์นี้เป็นดวงแก้วมหาจักรพรรดิ ปรับภพภูมิแต่งเมือง ขอพระฉัพพรรณรังสีแห่งพระรัตนตรัยทั้งหมดทั้งมวล จงแผ่จากดวงแก้วมณีนี้ไปในพื้นที่ ครอบวิมานแก้ว ให้กับ ( บ้านของ........... หรือ สถานที่ทำงานของ........... ) ให้แก่เหล่าดวงจิต ดวงวิญญาณทั้งหลาย ขอให้กระแสพระบารมีจงเชื่อมมายังดวงแก้วนี้จงครอบวิมานแก้วปรับภพภูมิและดวง วิญญาณในสถานที่นี้ด้วยเทอญ ”

           5.2 ถ้ากำพระเครื่องหรือเครื่องรางอย่างอื่นของหลวงปู่ดู่ ก็กล่าวว่า “ ให้ ( ชื่อพระเครื่องหรือ

เครื่องราง ) นี้เป็นดวงแก้วมหาจักรพรรดิ ปรับภพภูมิแต่งเมือง ขอพระฉัพพรรณรังสีแห่งพระรัตนตรัย.................... ปรับภพภูมิและดวงวิญญาณในสถานที่นี้ด้วยเทอญ ”

6. สวดคาถาบูชาหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดและหลวงปู่ดู่ ดังนี้

นะโม โพธิสัตโต พรหมปํญโญ อาคันติมายะ อิติ ภควา ”

ขอนอบน้อมบูชาแด่องค์พระศรีอาริเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ ผู้แบ่งภาคมาโปรดสัตว์ยังโลกมนุษย์ ขอจงเกิดความสำเร็จทุกประการเทอญ ”


7. 
สวดคาถามหาจักรพรรดิ ตามกำลังวัน หรือถ้ามีเวลาก็สวด 108 จบ โดย

           7.1 วันจันทร์ สวด 15 จบ

           7.2 วันอังคาร สวด 8 จบ

           7.3 วันพุธกลางวัน สวด 17 จบ

           7.4 วันพุธกลางคืน สวด 12 จบ

           7.5 วันพฤหัสบดี สวด 19 จบ

           7.6 วันศุกร์ สวด 21 จบ

           7.7 วันเสาร์ สวด 10  จบ

           7.8 วันอาทิตย์ สวด 6 จบ

8. เมื่อสวดคาถาเสร็จแล้ว ให้นึกภาพตามข้อ 5 ซ้ำอีกครั้งให้ชัดเจน แล้วจึงสวดบทสัพเพเพื่ออาราธนาพลังจักรพรรดิเข้าตัวเราแล้วนำไปครอบวิมานใน ที่ที่ต้องการ

สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมามสัพเพ สังฆา

  พะลัปปัตตา ปัจเจกายัง จะยังพะลัง

 อะหันตานัญ จะเตเชนะรักขัง

 พันธามิสัพพะโส

( ในระหว่างนี้ให้วางจิตเบาๆ โน้มนำพระบารมีเข้าตัวผู้สวด จินตนาการว่ามีพระบารมีเข้าตัวเป็นแสงสว่างครอบเป็นวิมานแก้วที่ตัวผู้สวด จากนั้นให้แสงนั้นส่งผ่านต่อไปครอบเป็นวิมานแก้วในสถานที่ที่ต้องการปรับภพ ภูมิ และดวงวิญญาณในสถานที่นั้นๆ )

 พุทธังอธิษฐามิ ธัมมังอธิษฐามิ สังฆังอธิษฐามิ ”

9. นั้นจึงแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล

พุทธัง อะนันตัง ธัมมัง จักวาลัง สังฆัง นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ”

 ( ผลบุญของข้าพเจ้าที่ได้กระทำมาแล้วในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ขอปวงสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่าย ตาย เกิด ในสังสารวัฏ จงมีส่วนได้รับผลบุญของข้าพเจ้าเทอญ )

10. หมายเหตุ ถ้าผู้สวดมีเวลาน้อยก็อาจลดขั้นตอนการปฏิบัติ โดยตัดข้อ 2., 3.และ 4 แล้วทำตามข้อที่เหลือ

หนังสืออ้างอิง

1. กายสิทธ์ จัดพิมพ์โดยสำนักสงฆ์พุทธพรหมปัญโญ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

2. ไตรรัตน์ เล่ม 1 , 2 , และ จัดพิมพ์โดยคณะศิษยานุศิษย์

3. “ไตรรัตนญาณ โดยพระวรงคต วิริยะธโร ( หลวงตาม้า ) วัดพุทธพรหมปัญโญ ( วัดถ้ำเมืองนะ ) ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว
   
จังหวัดเชียงใหม่ เรียบเรียงโดย ยุทธภูมิ อุพลเถียร

 

 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หุ่นพยนต์อันดับ1 ของแผ่นดิน หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด

หุ่นพยนต์อันดับ1 ของแผ่นดิน หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด   สร้างเมื่อปี 2551 ทำมาจากเนื้อผงพรายกุมาร ปลุกเสกโดย หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด เมื่อวันท...